จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แมว


แมว หรือ แมวบ้าน (ชื่อวิทยาศาสตร์Felis catus) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน [5] ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนีย


สถานะการอนุรักษ์
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Mammalia
อันดับ:Carnivora
วงศ์:Felidae
สกุล:Felis
สปีชีส์:F. catus
ที่มา  :  www.youtube.com/watch?v=jsfFXe5n3S0
ที่มา  : www.youtube.com/watch?v=Lpa6zF3zaVY

ขอบคุณสำหรับ  https://th.wikipedia.org/wiki/https://www.youtube.com/watch?v=jsfFXe5n3S0//https://www.youtube.com/watch?v=Lpa6zF3zaVY

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

คำอธิบายรายวิชา
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิชา ว๓๑๑๐๓ ชีววิทยาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เวลา ๖๐ ชั่วโมง จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
                 ศึกษา การเคลื่อนที่ของสารผ่านเซลล์ การลำเลียงสารผ่านเซลล์โดยวิธีการแพร่ การออสโมซิส การลำเลียงแบบฟาซิลิเทต การลำเลียงแบบใช้พลังงานและการลำเลียงสารขนาดใหญ่ การลำเลียงสารของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว และสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ กลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช กลไกการรักษาดุลยภาพของน้ำ แร่ธาตุ และอุณหภูมิของมนุษย์และสัตว์อื่นๆ กลไกการสร้างภูมิคุ้มกันและระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม มิวเทชัน การแปรผันทางพันธุกรรม การเกิดความหลากหลายทางชีวภาพ กระบวนการคัดเลือกตามธรรมชาติ ผลของการคัดเลือกตามธรรมชาติต่อความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศ ดุลยภาพของระบบนิเวศ กระบวนการเปลี่ยนแปลงแทนที่ของสิ่งมีชีวิต ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การป้องกันแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
โดย ใช้ทักษะการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต การใช้เทคโนโลยี ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสำรวจตรวจสอบ กระบวนการกลุ่ม การอภิปรายและการทดลอง   

         
             เพื่อให้สามารถนำ ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอพียง มุ่งมั่นทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ และมีจิตวิทยาศาสตร์